เมนู

7. กถาวัตถุสูตร



ว่าด้วยถ้อยคำที่ควรพูด 3 อย่าง



[507] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ 3 นี้ กถาวัตถุ 3 คืออะไร
คือบุคคลพึงพูดเรื่องราวปรารภเวลาที่เป็นอดีตว่า กาลที่ล่วงแล้วได้เป็นอย่างนี้
อย่าง 1 พูดเรื่องราวปรารภเวลาที่เป็นอนาคตว่า กาลภายหน้าจักเป็นอย่างนี้
อย่าง 1 พูดเรื่องราวปรารภเวลาที่เป็นปัจจุบันบัดนี้ว่า กาลที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
บัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ อย่าง 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลควรสนทนา หรือว่าเป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา
แล้ว ไม่แก้ตรงซึ่งเอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ต้องแก้ตรง) ไม่แก้
จำแนกซึ่งวิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ต้องแก้จำแนก) ไม่ย้อนถาม
แล้วจึงแก้ซึ่งปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ต้องย้อนถามแล้วจึงแก้)
ไม่ยกเลิกซึ่งฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ต้องยกเลิก) เช่นนี้ บุคคลนี้เป็น
บุคคลไม่ควรสนทนา
ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหาแล้ว แก้ตรงซึ่ง เอกังสพ-
ยากรณียปัญหา
แก้จำแนกซึ่งวิภัชชพยากรณียปัญหา ย้อนถามแล้วจึงแก้
ซึ่งปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ยกเลิกซึ่งฐปนียปัญหา เช่นนี้ บุคคลนี้เป็น
บุคคลควรสนทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลควรสนทนา หรือว่าเป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา
แล้ว ไม่มั่นอยู่ในฐานะ (ข้อที่เป็นได้) และอฐานะ (ข้อที่เป็นไม่ได้)
ไม่มั่น อยู่ในข้อที่กำหนดไว้ ไม่มั่น อยู่ในวาทะของผู้อื่น ไม่มั่นอยู่ในข้อปฏิบัติ

บุคคลเช่นนี้ เป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา มั่นอยู่ใน
ฐานะและอฐานะ มั่นอยู่ในข้อที่กำหนดไว้ มั่นอยู่ในวาทะของผู้อื่น มั่นอยู่ใน
ข้อปฏิบัติ บุคคลเช่นนี้ เป็นบุคคลควรสนทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลควรสนทนา หรือว่าเป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา
แล้ว พูดกลบเกลื่อนนอกเรื่องนอกทาง แสดงความขุ่นเคืองความโกรธแค้น
ความน้อยใจให้ปรากฏ บุคคลอย่างนี้ เป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่
ถูกถามปัญหาแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่นอกเรื่องไม่นอกทาง ไม่แสดงความ
ขุ่นเคืองความโกรธแค้น ความน้อยใจให้ปรากฏ บุคคลอย่างนี้ เป็นบุคคลควร
สนทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลควรสนทนา หรือว่าเป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา
แล้ว พูดพล่าม พูดเหยียบย่ำ พร่ำหัวเราะ คอยจับคำพลาด บุคคลชนิดนี้
เป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหาแล้ว ไม่พูดพล่าม ไม่พูด
เหยียบย่ำ ไม่พร่ำหัวเราะ ไม่คอยจับคำพลาด บุคคลอย่างนี้ เป็นบุคคล
ควรสนทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลมีอุปนิสัยปัจจัย หรือเป็นบุคคลไม่มีอุปนิสัยปัจจัย ผู้ไม่เงี่ยโสต
(คอยฟัง) เป็นบุคคลไม่มีอุปนิสัยปัจจัย ผู้เงี่ยโสต (คอยฟัง) เป็นบุคคลมี
อุปนิสัยปัจจัย
บุคคลนั้นเป็นผู้มีอุปนิสัยปัจจัย ย่อมรู้ยิ่งเห็นจริงซึ่งธรรมอันหนึ่ง
ย่อมกำหนดรู้ซึ่งธรรมอันหนึ่ง ย่อมละซึ่งธรรมอันหนึ่ง ย่อมทำให้แจ้งซึ่งธรรม

อันหนึ่ง เมื่อรู้ยิ่งเห็นจริงซึ่งธรรมอันหนึ่ง กำหนดรู้ซึ่งธรรมอันหนึ่ง ละซึ่ง
ธรรมอันหนึ่ง ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันหนึ่ง ย่อมถึงวิมุตติโดยชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดกันมีอันนี้เป็นประโยชน์ การปรึกษากัน
มีอันนี้เป็นประโยชน์ อุปนิสัยปัจจัยมีอันนี้เป็นประโยชน์ การเงี่ยโสตมีอันนี้
เป็นประโยชน์ อันนี้คืออะไร คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ยึดถือ
ชนเหล่าใดพูดกันอยู่ ผิดใจกัน มั่น
มุ่งไปคนละทาง ต่างยกตัวกระทบกระ-
เทียบกันอย่างอนารยชน จ้องหาช่องผิด
ของกันและกัน ชนเหล่านั้นย่อมยินดีคำผิด
คำพลาด ความเผลอ ความเพ้อของกัน
และกัน อารยชนไม่ประพฤติการพูดกัน
อย่างนั้น.
ถ้าอารยชนใคร่จะพูด ก็เป็นผู้ฉลาด
รู้จักกาล พูดแต่ถ้อยคำที่ประกอบด้วยเหตุ
ผล ที่อารยชนประพฤติกัน ไม่โกรธ ไม่
ยกตัว มีใจสงบ ไม่ตีเสมอ ไม่รุนแรง
ไม่เอาหน้า รู้ชอบแล้วจึงกล่าว ที่เขาพูดถูก
ก็อนุโมทนา เมื่อเขาพูดผิด ก็ไม่รุกราน
ไม่ใฝ่เอาเปรียบ เขาพูดพลั้งไปบ้างก็ไม่
ถือ ไม่พูดพล่าม ไม่พูดเหยียบย่ำเขา ไม่
พูดคำสบถสาบาน.

การพูดของสัตบุรุษทั้งหลาย เป็น
การพูดเพื่อให้เกิดความรู้ ความเลื่อมใส
อารยชนทั้งหลายย่อมพูดกันอย่างนี้ นี่เป็น
การสนทนากันแห่งอารยชน ผู้มีปัญญา
รู้ความข้อนี้แล้ว พึงพูดจาอย่ายกตัว.

จบกถาวัตถุสูตรที่ 7

อรรถกถาวัตถุสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกถาวัตถุสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กถาวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุที่ให้เกิดกถา อธิบายว่าเป็นพื้นฐาน
คือเป็นที่ตั้งแห่งกถา. บทว่า อตีตํ วา ภิกฺขเว อทฺธานํ ความว่า กาลก็ดี
ขันธ์ก็ดี ชื่อว่า อตีตัทธา (ระยะกาลอันยืนยาวนานที่ผ่านมาแล้ว) ก็ควร.
แม้ในอนาคตและปัจจุบัน ก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้.
ในบรรดากาลทั้ง 3 นั้น เมื่อพูดโดยนัยนี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่า กัสสปะ ที่มาแล้วในอดีต พระเจ้ากรุงกาสีทรงพระนามว่า กิงกิ
ได้เป็นอรรคอุปัฏฐากของพระองค์ พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนนานถึง
20,000 ปี ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวคาถาปรารภอดีต.
เมื่อกล่าวโดยนัยนี้ว่า พระพุทธเจ้าพระนามว่า เมตไตรย จักมีมาใน
อนาคต พระราชาพระนามว่า สังขะ. จักเป็นอรรคอุปัฏฐากของพระองค์
พระองค์จะมีพระชนมายุ 80,000 ปี ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวคาถาปรารภอนาคต.